ลงทุนทางการศึกษา แบบ Learning Experience Design (LXD)

on
Categories: Knowledge about O-ring

ลงทุนทางการศึกษา แบบ Learning Experience Design (LXD)


IFIT (BANKOK UNIVERSITY)

ม.กรุงเทพได้สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ไม่เคยมีมหาวิทยาลัยใดทํามาก่อนในวิชา GE (General Education) ที่นํานักศึกษามาออกแบบการเรียนการสอนในฐานะ Learning Designer (LD) และ Learning Experience Designer (LXD) ร่วมกับ “ครูพันธุ์ใหม่” ผู้ทําหน้าที่เป็นโค้ช ผลสําเร็จเชิงประจักษ์จากการปฏิวัติการ เรียนรู้ทุกหลักสูตร ทั้งมหาวิทยาลัยด้วยวิชา GE ดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ม.กรุงเทพได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยเอกชนนําร่องโครงการสร้าง “บัณฑิตพันธุ์ใหม่” ผู้เปี่ยมทั้งสมรรถนยะหรือทักษะชีวิต (Soft Skill) และสมรรถนะหรือทักษะวิชาชีพ (Professional Skill) จากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ความคิดริเริ่มที่เกิดขึ้นในวิชา GE ยังได้ถูกต่อยอดและพัฒนาเป็นโมเดล iFIT (Individual Future Innovative Learning of Thailand) อันมีความหมายว่า “เหมาะหรือ Fit” กับทุกความต้องการของนักศึกษา ม. กรุงเทพ ทุกคน พร้อมทั้งมุ่งมั่นสร้างโมเดลนี้ให้กลายเป็น Thailand Model ภายใต้ปรัชญาการศึกษาเพื่อการ เรียนรู้อย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบในระดับสากลสําหรับการสร้างทรัพยากรมนุษย์คุณภาพตอบรับโลกอนาคต ซึ่งมี ความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว แทนที่ Finland Model ปรัชญาการศึกษาที่กําลังได้รับ ความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน “ม.กรุงเทพตระหนักมานานแล้วว่า การจะใช้ชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้น การมีแค่ Professional Skill ไม่เพียงพอ แต่ต้องมี Soft Skill ที่หยั่งลึกในตัวนักศึกษาด้วย” เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี ม.กรุงเทพ กล่าว “เมื่อสกอ.ริเริ่มโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ม.กรุงเทพจึงนําเสนอโปรเจ็กต์ iFIT ที่ เราได้ทดลองทําจนเห็นผลลัพธ์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วให้สกอ.พิจารณา ซึ่งโมเดลการเรียนรู้แบบ Personalized Learning ฉบับม.กรุงเทพนั้นเรียกว่า iFIT โดยเตรียมปั้นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ผู้มี Lifelong Learning Competency ป้อนโลกอนาคตแบบยกระดับ ทุกหลักสูตร ทั้งมหาวิทยาลัย” ทางด้าน รศ.ดร.ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ รองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ ม.กรุงเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ม. กรุงเทพได้รับความเชื่อมั่นในเรื่องหลักสูตรที่ทันสมัยและตอบโจทย์ตลาดงานในทุกยุคเสมอมา แต่การที่นักศึกษา จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและความสุขอย่างยั่งยืนชั่วชีวิตได้นั้น จําเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในทุกด้าน เพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ได้ ซึ่งสิ่งที่จะมาเติมเต็มภูมิคุ้มกันทางด้านนี้ก็คือทักษะชีวิต นั่นเอง โดยเครื่องมือที่จะมาทําให้นักศึกษาเข้าใจทักษะทุกด้านอย่างลึกซึ้งก็คือ การที่นักศึกษาเป็นศูนย์กลางการ ขับเคลื่อนโมเดลการเรียนรู้ ผู้มีความสุขในทุกนาทีที่เรียนในแบบ Work/Learn/Play และเมื่อนักศึกษามีความสุข ก็จะนําไปสู่การเพิ่ม Learning Skill, Working Skill และ Communication Skill โดยอัตโนมัติ”

รศ.ดร.ทิพรัตน์ ยังได้อธิบายถึงความหมายของ iFIT ว่า

เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของ นักศึกษาเป็นรายบุคคล เพราะม.กรุงเทพตระหนักดีว่า นักศึกษาแต่ละคนต่างก็มีความสามารถ ความสนใจ และ ความถนัดเฉพาะตัวที่ต่างกัน ไม่มีใครเก่งกว่าใคร แต่ทุกคนมีความเก่งในทางของตัวเอง การออกแบบเส้นทางสู่ อนาคตจึงไม่สามารถยึดรูปแบบการเรียนการสอนเช่นที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้แต่การวัดผลก็ไม่สามารถใช้ ข้อสอบชุดเดียวกันได้ จึงจําเป็นต้องปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เป็น Personalized Learning อย่าง แท้จริง ดังนั้นนอกจากหลักสูตรต่างๆ จะตอบโจทย์ตลาดงานในอนาคตแล้ว ม.กรุงเทพยังผสมผสานศาสตร์และศิลป์ อันหลากหลาย ทลายพรมแดนของคณะวิชา ปรับหลักสูตรที่เปลี่ยนการนั่งเรียนเป็นการทํางานจริง เปลี่ยน การบ้านเป็นโปรเจ็กต์ระดับมืออาชีพ เปลี่ยนตารางสอนเป็นช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยง เน้นการทํางานกลุ่ม หมุนเวียนหน้าที่ ฝึกฝนทักษะให้ได้มากกว่าหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างครีเอทีฟและ ฟรีสไตล์แบบ Open Platform วิธีนี้จะทําให้นักศึกษามีทั้งทักษะวิชาชีพเฉพาะทางและทักษะวิชาชีพที่จําเป็นอื่นๆ ส่งผลให้มีความเชี่ยวชาญ รอบด้าน มีสมรรถนะเพียงพอจะรองรับอาชีพที่หลากหลายในโลกอนาคต เพราะโลกอนาคตเต็มไปด้วยความผัน ผวน ไม่มีใครสามารถการันตีได้ว่า อาชีพใดจะยั่งยืนไปตลอดกาล การมีความรู้ความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านจึง จําเป็นต่อการดํารงชีวิตในอนาคตข้างหน้าเป็นมาก นอกจากนี้นักศึกษาใหม่ทั้งมหาวิทยาลัยยังจะสามารถเลือก เรียนแทร็กพิเศษที่เปิดโอกาสให้เข้ามาเรียนชั้นปีที่ 1 เพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเองก่อน แล้วค่อยเลือกเรียน คณะและสาขาวิชาในภายหลัง โดยเลือกเรียนวิชาที่จําเป็นต่อการพัฒนาทักษะสําหรับอาชีพการงานที่ตนมุ่งหวังใน อนาคตได้อย่างหลากหลายเท่าที่ต้องการ ทิศทางเหล่านี้สะท้อนเจตจํานงของม.กรุงเทพที่มุ่งสร้าง “บัณฑิตพันธุใหม่” หรือ Thailand Future Gen ผู้ มีอิสรภาพในการออกแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตด้วยตนเอง และพร้อมเป็นบุคลากรผู้สร้างความสุข สร้าง ประโยชน์ ให้แก่ทั้งตนเอง ประเทศชาติ ตลอดจนสังคมโลก สมดังเป้าประสงค์ที่มีร่วมกันระหว่างสกอ.และม. กรุงเทพ


คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (SRIPATUM UNIVERSITY)

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนความคิดและเพิ่มความต้องการให้หลากหลาย ในยุคสมัยใหม่ที่เน้นให้ผู้เรียน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ได้เรียนเอง ปฏิบัติเอง ผ่านแหล่งความรู้และเทคโนโลยีที่หลากหลาย กระบวนการเหล่านี้ จะหล่อหลอมให้ผู้เรียนได้เดินทางสู้เป้าหมาย และจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตร สหวิทยาการฯ ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตรสหวิทยาการฯ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในชื่อ โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อประเทศไทย 4.0 หลักสูตรนี้น้องๆ สามารถดีไซน์หลักสูตรของตัวเองได้ อยากเรียนสถาปัตย์ นิเทศน์ และ บริหาร ก็สามารถนํามาผสมรวมกันเป็นหลักสูตรของตัวเองได้ ในชั้นปีแรก นักศึกษา จะได้เรียนวิชาพื้นฐาน เป็นวิชา สามารถนําไปต่อยอดได้ทุกๆสาขาที่ นักศึกษา สนใจเลือกเรียนในอนาคต ตัวอย่างวิชาพื้นฐาน เช่น การเพิ่มคุณค่าการคิดเชิงนวัตกรรม เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง ทนี่ักศึกษา ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้ ปฏิรูปการศึกษาระดับปริญญาตรีใหม่ โดยเปิดคณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในปีการศึกษา 2561 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาตามที่ตนชอบและถนัด ตาม โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกําลังคนที่มีสมรรถนะสูงให้กับอุตสาหกรรม ตามนโยบาย Thailand 4.0 ผศ.ดร.วิรัช กล่าวต่อว่า คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าสู่การศึกษา ยุคใหม่ ที่ไม่ใช่การนั่งเรียน และจดบันทึกตามอาจารย์สอนในห้องเรียนตามวิชาที่มหาวิทยาลัยกําหนดให้เรียน มา เป็นการบูรณาการในการเรียน โดยนักศึกษาสามารถกําหนดรายวิชาที่ตัวเองต้องการศึกษาด้วยตนเอง มีอาจารย์ ทําหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยง (coach) คอยชี้แนะเท่านั้น และการเรียนการสอนมุ่งให้นักศึกษาเกิดทักษะ 4 ประการ คือ ความคิดสร้างสรรค์ (Idea) การสื่อสาร (Communication) การบริหารจัดการ (Management) และ เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งเป็นแนวโน้มการศึกษาดังกล่าวได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาจบ การศึกษาจะได้วุฒิบัตรปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือศิลปศาสตรบัณฑิต ขึ้นอยู่กับวิชาที่นักศึกษาเลือกเรียน ว่า วิชาศาสตร์ใดมากกว่ากัน “นักศึกษาทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นไม่ควรนั่งเรียน ฟังอาจารย์เลคเชอร์แบบเดิมๆ เหมือนกัน ทั้งชั้น เรียน ในขณะที่ผู้ประกอบการ ปัจจุบันไม่ได้สนใจเรื่องปริญญาบัตร แต่สนใจว่านักศึกษามีทักษะใดบ้างที่เป็น ประโยชน์ในการทํางาน ดังนั้นนักศึกษาจึงควรมีสิทธิ์ที่จะเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ เรียนในสิ่งที่คิดว่าใช่สําหรับตนเอง” รองอธิการบดี กล่าว คณะสหวิทยาการฯ นี้เหมาะกับใคร เหมาะกับ หลักสูตรนี้จะทําให้เลือกเรียนได้หลากหลาย เมื่อทดลองเรียนแล้วจะรู้ได้ว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ชอบจริงๆหรือไม่ ทั้งยัง มีค่ายและรายวิชาต่างๆที่ช่วยค้นพบความชอบของ สามารถสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ในหลักสูตรนี้เปิดกว้างให้กับ ที่ยังไม่รู้ตัวเองว่าชอบอะไรหรือลังเลยังไม่แน่ใจ นักศึกษา เอง และเหมาะกับ ที่มีเป้าหมายชัดเจนเช่นกัน ทุกคน สร้างมาเพื่อ อย่างแท้จริง ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนรู้ เพื่อดึงศักยภาพของเด็กรุ่นใหม่ออกมาให้ มากที่สุด ในหลักสูตรสหวิทยาการฯนี้สร้างขึ้นโดยอิงความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของผู้ประกอบการ และกลไกการพัฒนาประเทศ ดังนั้น คณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมเป็น ส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้ ก้าวขึ้นเป็นผู้นําในด้านที่ตนสนใจ

inline : ดร พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ